สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(Business Computer)



Business Computer




 ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและนั้นทำให้ชีวิตของมนุษย์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้ชีวิตประจำวันอยู่เสมอ และในบางครั้งคนเราก็ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำไปว่ากำลังใช้และพึ่งพาเทคโนโลยีจนกระทั้งมันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเราไปในที่สุด



     สาขาคอมคอมพิวเตอร์ธุรกิจนั้นเรียนไม่ยากเป็นการเรียนแบบแบ่งครึ่งระหว่างภาคคอมพิวเตอร์กับภาคธุรกิจ ซึ่งสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเเทศและการประยุกต์เทคโนโลยีกับงานธุรกิจและการจัดการ โดยเน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านงานธุรกิจ เช่น 
Bl (Business lntelligence) ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) สำหรับการวางแผนการบริหารธุรกิจขององค์กร ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจ โดยตลอดหลักสูตรการเรียนจะเน้นการฝึกทักษะสู่ภาคปฎิบัติจริงกับอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมในห้องปฎิบัติการที่ทันสมัย
- มีเขียนโปรแกรมไหม ?

                มีครับแต่เป็นการเขียนโปรแกรมพื้นฐานที่ไม่ลึกมากเพื่อให้ดูโค้ดเป็น อ่านโค้ดออก และเขียนได้เล็กน้อย


- ภาคธุรกิจเรียนอะไรบ้าง?

                เรียนเกือบทุกอย่างครับตั้งแต่ บัญชี การตลาด กฏหมาย(เกี่ยวกับธุรกิจที่ต้องรู้) โลจิสติกส์ เศรษศาสตร์ และอื่นๆ


-แล้วมีสอนเรื่องกราฟฟิกไหม ?

                มีครับแต่ไม่ได้ลึกอะไรมาก แต่สอนหมดไม่ว่าจะเป็น Photoshop ,flash ,illustrator


- จบไปสามารถทำงานอะไรได้บ้างครับ ?

นักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จะมีทางเลือกในสายอาชีพในองค์กรต่างๆ เช่น ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ บริษัทตลาดหลักทรัพย์ บริษัทระดับ SME ฯลฯ โดยสามารถทำงานในตำแหน่งเลขานุการ จนถึงโปรแกรมเมอร์ หรือเจ้าหน้าที่ End Use จนถึงเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงาน อาชีพหลักที่เป็นได้ มีดังนี้
เจ้าหน้าที่ฝ่าย End Use ในส่วนงาน เช่น ส่วนงานสินเชื่อของธนาคาร ที่มี ระบบซอฟต์แวร์สินเชื่อเบื้องต้น
                  1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานธุรกิจ
                2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย
                3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์ (Support)
                4. เจ้าหน้าที่ฝ่าย E – Learning
                5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำนักงาน
                6. เลขานุการกรรมการผู้จัดการใหญ่
                7. เจ้าหน้าที่ฝ่ายระบบงานสำนักงาน
                8.  เจ้าหน้าที่พัฒนาซอฟต์แวร์
                9. เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
                10. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีคอมพิวเตอร์ หรือระบบบริหารงานบุคคล
               11. เจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณา
               12. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระบบ
               13. และอื่นๆ
    

คอมพิวเตอร์ทุกสาขาหนีการเขียนโปรแกรม ไม่พ้น 
คอมพิวเตอร์ แต่ละสาขา เน้นคนละด้านคอมพิวเตอร์ตามหลักสูตร"





            https://www.admissionpremium.com/uploads/contents/20170116113049.jpg
            https://cdn.pixabay.com/photo/2016/01/19/15/05/computer-1149148_960_720.jpg

ความคิดเห็น